วันนี้เราจะมาพูดถึงกลไกที่ใช้ในเครื่องจักรกันนะครับ การออกแบบนั้นเราไม่จำเป็นต้องคิดใหม่หมด เราสามารถท่ีจะนำ idea หลายๆ idea มาประกอบกันเพื่อสร้างนวตกรรมใหม่ๆได้ เพื่อลดเวลา และความซับซ้อนลงนะครับ ใช้หลักการ Triz นะครับ เราก็จะได้นวตกรรมหรือเครื่องจักรหน้าตาและกลไกทำงานใหม่ๆ
กลไกที่ 1 Transfer With Automation Tension Mechanism
เรามาดูกันว่ากลไกนี้มีส่วนประกอบและหลักการทำงาน รวมทั้งออกแบบอย่างไรกันนะครับ
ส่วนประกอบหลัก
1.Air Cylinder With Guide Rod 1 pcs ใช้สำหรับดึงให้โซ่ตึงตลอดเวลานะครับ ในการออกแบบนั้นเราต้องคำนวนแรงต้านที่กระบอกต้องทำด้วยเสมอ ไม่เช่นนั้นกระบอกจะดึงปรับความตึงไม่ได้ สูตรในการเลือกกระบอกคือ P=F/A
2.Motor 1 pcs สำหรับ Drive Conveyor โดย Motor จะเป็น Servo หรือ Induction ก็ได้ ขอเพียงแค่มีแรงมากพอที่จะเอาชนะโหลดบน Conveyor ได้ก็พอ ในการคิด คิดง่ายๆแบบนี้นะครับ ให้เราดูว่าใน 1 เมตร เรามีน้ำหนักวางกี่ N (9.81 xN หน่วยจะเป็น Kgf) ทีนี้ก็ไปเปิด catalog ของ Motor เพื่อทำการเลือก โดยในการเลือกค่าที่เราต้องพิจารณา คือ 1 ค่า Torque ขับโหลด 2.ความเร็วรอบ 3.Torque Inertial ทั้งหมดนี้เราจะได้มอเตอร์มาเป็น HP ( แรงม้า) โดยเมื่อเราคำนวนเราก็เผื่อค่า SF ไว้ซัก 1.2 นะครับ
3.Chain 2 เส้น +Sprocket 7 pcs จำไว้เสมอว่า Module โซ่และ Sprocket ต้องเบอร์เดียวกัน เพราะถ้าไม่เบอร์เดียวกันซื้อมาจะใส่ไม่ได้ ( เจ็บมาเยอะ 😂) การคำนวนต้องพิจารณาถึงการรับแรงรวมทั้งเลือกให้สัมพันธ์กับ Motor ด้วย ปรกติผู้เขียนไม่ได้คำนวน ใช้ตาราง+กราฟในการเลือก เพราะชิ้นส่วนราคาไม่แพงหาง่าย และใช้จนชินจนไม่ต้องคำนวนอย่างละเอียด
4.โครงสรา้งหลัก ใช้เป็นเหล็กกล่องหรือเหล็กฉาก ถ้าเป็นเหล็กกล่องจะดูสวยกว่าเหล็กฉาก อันนี้แล้วแต่งบนะครับ
5.Guide ประคองงาน ใน Conveyor ชิ้นงานต้องเคลื่อนที่อาจหล่นได้ เราต้องทำ Guide กันชิ้นงานหล่นด้วยนะครับ จะใช้เหล็กพับก็ง่ายดีแต่ขัดให้ผิวมันๆหน่อยนะครับและชุบ Hard Chorm เพื่อลด Friction
กลไกนี้ใช้สำหรับลำเลียงวัสดุ และมีระบบการตรึงโซ่แบบ Auto ในตัวด้วยช่วยให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดนะครับ
ขอขอบพระคุณ รูปภาพจาก Misumi นะครับ
เพจ facebook :Easy design
ขอบคุณมากครับบ
ตอบลบ